ในยุคที่มีความหลากหลาย และความเท่าเทียมทางเพศ ทำให้หลายๆ คนได้ใช้ชีวิตในรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เเต่ทุกคนทราบกันไหมครับว่าการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพบางอย่าง สามารถส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายได้ ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงเพศสภาพจากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือ Male to female บทความนี้หมอจะกล่าวถึงปัญหาเส้นผม และแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวครับ
การเปลี่ยนแปลงเพศสภาพส่งผลต่อฮอร์โมนอย่างไร
อย่างที่หมอกล่าวไปข้างต้นว่าการเปลี่่ยนแปลงเพศสภาพจากชายเป็นหญิง หรือ Male to Female (MTF) จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย เนื่องจากในการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศสภาพนั้นแพทย์จำเป็นต้องทำการนำลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชายออกทำให้ร่างกายฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนได้น้อยลง เเต่ในขณะเดียวกันใน MTF บางกลุ่มก็ต้องการเพิ่มฮอร์โมนของเพศหญิงให้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะศีรษะล้าน-เถิก น้อยลง
สาเหตุของอาการผมร่วงใน Trans Woman
ถึงเเม้ว่าในปัจจุบัน Trans Woman จะมีเพศสภาพเป็นเพศหญิง เเต่สาเหตุของอาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน-เถิก มักมีสาเหตุจาก “กรรมพันธ์ุ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาจากเพศสภาพเดิม ถึงเเม้ว่า MTF จะไม่มีลูกอัณฑะซึ่งเป็นเเหล่งผลิตฮอร์โมนของเพศชาย เเต่ก็ยังมี “ต่อมหมวกไต” ที่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศชายได้เช่นกัน ทำให้ร่างกายยังคงมีฮอร์โมนเพศชายอยู่
การรักษาภาวะผมร่วงใน Trans Woman
ภาวะผมร่วง ผมบาง อาจแก้ไขได้ด้วยการใช้เซรั่ม แชมพูสำหรับผมร่วง หรือสารอาหารสำหรับบำรุงเส้นผม และหนังศีรษะต่างๆ แต่หากมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมวิธีการดังกล่าวอาจไม่ใช่วิธีที่ตอบโจทย์มากนัก การรักษาด้วยวิธีการทางการเเพทย์จึงเป็นทางออกที่ดี เเละเห็นผลมากกว่า เช่น การทานยา หรือ “การปลูกผมถาวร” เป็นต้น
Long Hair DHI สร้างลักษณะทางกายภาพที่สมบูรณ์แบบ
เนื่องจากแนวไรผมของเพศต่างๆ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งเเนวไรผมของเพศชายจะเน้นให้กรอบหน้าดูเข้ม เเต่ในขณะเดียวกันเเนวผมของเพศหญิงจะทำให้ใบหน้ามีความละมุน เเละอ่อนหวานมากกว่า การปลูกผมสำหรับ Trans Woman จึงจะเน้นการ “ปรับกรอบหน้า” ให้ดูอ่อนหวาน เเละละมุนมากขึ้น ด้วยการปลูกผมเทคนิค “Long Hair DHI” จะเติมเต็มกรอบหน้าใหม่ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถควบคุมความลึก และทิศทางของเส้นผมได้ดีมาก รอยแผลเล็ก ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ต้องตัด ไม่ต้องโกน มีผมพร้อมใช้ทันทีหลังปลูก ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถพร้อมรับกับทุกสถานการณ์นับตั้งเเต่ปลูกเสร็จ
อย่างไรก็ตามภาวะศีรษะล้าน-เถิก ผมร่วง และผมบาง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อม พฤติกรรมคุ้นชินบางอย่าง หรือแม้กระทั่งความผิดปกติของร่างกาย ดังนั้นเมื่อพบว่ามีผมร่วง ผมบางที่ผิดปกติ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยถึงสาเหตุ เเละเเนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง สำหรับคนที่มีปัญหาดังกล่าว หรือไม่เเน่ใจว่าตนเองเหมาะที่จะปลูกผมหรือไม่ สามารถทักมาติดต่อพูดคุยกับหมอเพื่อปรึกษาเบื้องต้นได้นะครับ