ผมร่วงแล้วจะทำยังไงดี เป็นคำถามที่พบได้เป็นจำนวนมาก ผมเชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ก็น่าจะเคยสงสัยเหมือนกัน จากบทความก่อน ๆ จะทำให้เห็นว่าปัญหาหลักของการเกิดผมร่วงคือปัญหาทางพันธุกรรม และการกินยาและใช้เซรั่มก็มักจะมาเป็นตัวเลือกแรก ๆ เสมอ แต่ว่ายาก็ยังมีขีดจำกัดในการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถรักษาอาการล้าน-เถิกอย่างรุนแรงได้ จึงต้องใช้การปลูกผมเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
ยาที่ใช้รักษาอาการผมร่วง
- ยาฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) เป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์โดยการลดการเกิดฮอร์โมน DHT โดยไปลดการเกิด ณ ปลายทางที่รากผมเป็นหลัก การกินยานี้ไม่ได้เป็นการกดฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเลย สังเกตได้ว่าหลังจากใช้ยาชนิดนี้ เส้นผมจะดูดกดำ และดูหนาขึ้น เพราะเซลล์รากผมไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT
- ยาไมนอกซิดิล(Minoxidil) เดิมเป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตสูงมาก่อน แต่ภายหลังพบว่ามีผลข้างเคียงจากยานี้ที่ทำให้ผมงอกขึ้นบริเวณศีรษะหลังจากทานยาด้วยกลไกการทำงานที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งคาดว่าอาจมาการขยายหลอดเลือดทำให้มีเลือดไปเลี้ยงเส้นผมมากขึ้น เพื่อป้องการเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ จะต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
จะทำให้เห็นได้ว่ามีเพียงยา Finasteride ที่เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แต่โดยมากกว่าจะตระหนักถึงปัญหาศีรษะล้าน-เถิก ก็เข้าสู่ระยะที่ยากจะรักษาโดยยาแล้ว จึงต้องทำการปลูกผมถาวรแบบย้ายราก หรือการปลูกผมแบบ RECELL HAIR MICRO TRANSPLANT™ เข้ามาใช้ในการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการผมร่วงในแต่ละบุคคล
ที่กล่าวว่าการปลูกผมเป็นการรักษาที่ปลายเหตุก็เพราะว่า เราไม่สามารถทำให้รูขุมขนที่ปิดไปแล้ว หรือเซลล์ที่ตายไปแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง จึงต้องนำรากผมจากบริเวณด้านหลังศีรษะที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT มาปลูกในบริเวณที่ต้องการ
สรุปสิ่งที่ควรรู้
- ยาทุกตัวล้วนมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจาก การขาดความรู้ความเข้าใจในตัวยานั้น ๆ
- ยาฟิแนสเทอไรด์ และยาไมนอกซิดิล จะทำให้เส้นผมที่เหลืออยู่ไม่หลุดร่วงไปมากกว่าเดิม แต่ไม่สามารถรักษาทำให้มีเส้นผมเกิดใหม่บนผิวที่ไม่มีเส้นผมเหลือหรือรูขุมขนปิดตัวไปแล้ว
- เส้นผมบริเวณด้านหลังศีรษะ เป็นเส้นผมที่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT น้อย จึงเป็นส่วนที่นำมาปลูกในบริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผม คิ้ว หรือหนวดเครา เป็นต้น
- หลังจากปลูกผมแบบถาวรย้ายรากแล้ว สามารถรับประทานยา เพื่อไม่ให้เส้นผมในบริเวณอื่นที่ยังไม่ได้ปลูกหลุดร่วงไปมากกว่าเดิม
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นการปลูกผมหรือว่าการทานยาต่างมีบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเข้าใจที่ว่าปลูกผมดีกว่าทานยา หรือทานยาดีกว่าปลูกผมนั้นไม่เป็นความจริง การรักษาทั้ง 2 รูปแบบยังคงมีความจำเป็นสำหรับการรักษาปัญหาศีรษะล้าน-เถิก