[vc_row][vc_column][vc_column_text]เคยเป็นไหมครับ ตื่นมาตอนเช้าส่องกระจกแล้วแปลกใจ ทำไมวันนี้หน้าดูบวม ๆ ผิดสังเกต หรือใครบ้างที่มีอาการมือบวม ขาบวมพอลองเอานิ้วจิ้มดูทิ้งไว้ซัก 5 วินาทีแล้วเอาออก จะเห็นว่ามีรอยบุ๋ม ๆ ด้วย อาการเหล่านี้เรียกว่า บวมน้ำ นั่นเองครับ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
บวมน้ำ คืออะไรหละ?
อาการบวมน้ำ (Edema) เกิดจากการที่มี “ น้ำ “ หรือ “ของเหลว “ ไปสะสมอยู่บริเวณช่องว่างระหว่างเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายในปริมาณที่มากเกินปกติ ทำให้เกิดอาการบวม และในบางท่านที่บวมมาก จะมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งโดยมากจะพบอาการบวมน้ำบริเวณ “ ขา “ และ “ เท้า “ แต่ก็สามารถพบได้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เช่นกัน สังเกตได้โดยการใช้นิ้วกดลงไป อาจทิ้งรอยบุ๋มไว้ได้ ซึ่งจะต่างจากอาการอ้วนของคนที่มีไขมันสะสมเยอะเกินไป
สาเหตุของการบวมน้ำ?
สาเหตุของอาการบวมน้ำนั้นมีหลายปัจจัยมาก ดังนี้
- นั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ เมื่อสรีระอยู่ท่าเดิมนาน ๆ จะทำให้เส้นเลือดดำไม่สามารถไล่เลือดกลับเข้าไปสู่หัวใจได้ทันกับเลือดที่ถูกบีบออกมาจากหัวใจ เพราะเส้นเลือดดำยังต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ในการไล่เลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ฉะนั้น ผู้ที่ต้องยืนทำงาน หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ มีการขยับขาไม่มากนักมักจะมีอาการบวมน้ำได้ง่าย รวมไปถึงผู้สูงอายุ ที่กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงก็จะพบอาการบวมน้ำตามขาและเท้าได้เช่นกัน
- ร่างกายขาดน้ำ อาการบวมน้ำ หลายคนมักเข้าใจผิดว่า เป็นเพราะการดื่มน้ำมากเกินจึงตัวบวม แต่จริง ๆ แล้ว การที่เราดื่มน้ำในปริมาณไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมน้ำไว้ในร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ฉะนั้น วิธีแก้คือ ควรดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน หรือมากกว่านั้น หากต้องออกกำลังกายหนัก ๆ หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องเสียเหงื่อมากกว่าปกติ
- รับประทานเค็มมากเกินไป การรับประทานเค็ม แฝงมาในหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นการปรุงด้วยเกลือ น้ำปลา ผงชูรส อาหารแปรรูป อาหารกระป๋องต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารรสจัด การที่รับประทานมากเกินไปไม่ใช่เรื่องดี เพราะจะทำให้ร่างกายกระหายน้ำมากยิ่งขึ้น และจำเป็นต้องกักเก็บน้ำมากขึ้นเพื่อไปทำละลายโซเดียมในร่างกาย และยังส่งผลกระทบต่อโรคอ้วน ความดันโลหิตสูงด้วย ซึ่งท่านที่ทานโซเดียมน้อยเกินไป ก็ทำให้ร่างกายต้องกักเก็บโซเดียม ก็ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้เช่นกันฉะนั้น ควรรับประทานตามปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน คือ 1,500 มิลลิกรัม/วัน และไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการรับประทานเค็มมากเกินไปในแต่ละวันได้ ด้วยการปรุงอาหารด้วยตัวเอง หรือการเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับน้ำออกจากร่างกาย เช่น ผักต่าง ๆ แตงโม แตงกวา อโวคาโด กีวี่ หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
- ช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วงก่อนถึงวันนั้นของเดือน เกิดจากการไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตมากเกินในช่วงตกไข่ จึงทำให้มีการกักของเหลวในร่างกายมากกว่าปกติ เลยทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ซึ่งเมื่อร่วมกับอาการท้องบวมเนื่องจากบริเวณผิวภายในโพรงมดลูกจะหนาขึ้นและมีเลือดคั่งอยู่ในปริมาณมาก ทำให้ช่วงที่ประจำเดือนยังไม่มา พุงก็เลยป่องออกมามากกว่าปกติแต่หากเยื่อภายในหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนหมดแล้ว พุงก็จะยุบกลับไปเป็นเหมือนเดิม หากมีอาการบวมน้ำเหล่านี้ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด และตับ ไตผิดปกติ ก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำอยู่ประจำ ตามคำแนะนำเบื้องต้น เพื่อลดอาการบวมน้ำได้ หรือสามารถเลือดที่จะนวดระบบน้ำเหลือง (Manual Lymph Drainage) จะช่วยให้อาการบวมน้ำลดลงได้
Body Detoxification Treatment
เป็นวิธีการบำบัดอีกวิธีหนึ่งซึ่งปลอดภัยและเห็นผลลัพธ์ทันทีหลังการทำ เพื่อรักษาอาการบวมน้ำ โดยไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต และน้ำเหลืองทำงานได้ปกติ ทำให้มีการขจัดของเสียออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการบำบัดด้วย Body Detoxification ยังเป็นการกระตุ้นธาตุไฟในร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญต่าง ๆ ของร่างกาย ให้ทำงานได้ดี และสมดุล นอกจากจะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง และรูปร่างดูกระชับขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายพร้อมรับกับการดูแลอื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องมือในการลดชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ให้เห็นผลได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข้อควรรู้ : ควรทำก่อน หรือหลัง ช่วงมีประจำเดือน 7 วัน เพราะธาตุไฟอาจไปกระตุ้น ทำให้เลือดออกมามากเกินปกติ
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]