เมื่อพูดถึงปัญหาผมร่วง ผมบาง หลายคนมักจะมองหาวิธีการรักษาที่ไม่ต้องเจ็บตัว หรือเสียค่าใช้จ่ายสูง การกินยาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนส่วนใหญ่หันไปใช้ เพราะคิดว่า “กินยาแล้วไม่ต้องปลูกผม” แต่คำถามคือ การกินยาช่วยให้ผมงอก หรือหยุดผมร่วงได้จริงหรือ?
กินยาแล้วไม่ต้องปลูกผม?
ยาที่ใช้ในการรักษาผมร่วงมีส่วนผสมที่สามารถทำงานได้โดยการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดผมร่วง เช่น ฟิแนสเตอไรด์ (Finasteride) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) โดยยาตัวนี้จะช่วยลดระดับ DHT ในร่างกาย ทำให้ผมไม่หลุดร่วงง่าย และสามารถช่วยให้ผมใหม่งอกขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ยา ไม่สามารถเพิ่มเซลล์รากผมที่ถูกทำลายไปแล้วให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ถ้าในบริเวณนั้นไม่มีเซลล์รากผมที่แข็งแรง ยาที่ทานเข้าไปก็จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการงอกของเส้นผมใหม่ได้
แต่การปลูกผม เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ จากการที่เราไม่สามารถทำให้รูขุมขนที่ปิดไปแล้ว หรือเซลล์ที่ตายไปแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง จึงต้องนำรากผมจากบริเวณด้านหลังศีรษะที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT มาปลูกในบริเวณที่ต้องการ

เพื่อหล่อลื่นเส้นผมให้ชุ่มชื้น พบมากในผักใบเขียว มะเขือเทศ กล้วย โยเกิร์ต และธัญพืช
และยังมีทางเลือกอื่นๆ ในการแก้ปัญหาผมร่วงได้ เช่น
- LLLT เลเซอร์พลังงานต่ำกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรยาที่ใช้รักษาอาการผมร่วง
- ยาฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) เป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์โดยการลดการเกิดฮอร์โมน DHT โดยไปลดการเกิด ณ ปลายทางที่รากผมเป็นหลัก การกินยานี้ไม่ได้เป็นการกดฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเลย สังเกตได้ว่าหลังจากใช้ยาชนิดนี้ เส้นผมจะดูดกดำ และดูหนาขึ้น เพราะเซลล์รากผมไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT
- ยาไมโนซิดิล (Minoxidil) เดิมเป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตสูงมาก่อน แต่ภายหลังพบว่ามีผลข้างเคียงจากยานี้ที่ทำให้ผมงอกขึ้นบริเวณศีรษะหลังจากทานยาด้วยกลไกการทำงานที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งคาดว่าอาจมาการขยายหลอดเลือดทำให้มีเลือดไปเลี้ยงเส้นผมมากขึ้น เพื่อป้องการเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ จะต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
นอกเหนือจากยาแล้ว ยังมีวิตามินที่ไม่ได้ช่วยลดปัญหาผมร่วงโดยตรง แต่ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรงจากภายในได้ ซึ่งวิตามินที่นิยมใช้ในการบำรุงเส้นผม เช่น
- ไบโอติน (Biotin) ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่สร้างใหม่และแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา เช่น เส้นผม เล็บ และผิวหนัง โดยมักพบไบโอตินในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผักและผลไม้ ถั่วและธัญพืช นมและโยเกิร์ต
- แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี จะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ได้จากแหล่งอาหาร เช่น เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล ธัญพืช ผลไม้และผักใบเขียว เป็นต้น
- วิตามินเอ (Vitamin A) ช่วยให้หนังศีรษะและเส้นผมแข็งแรง พบมากในผักใบเขียวและผลไม้มีสี
- วิตามินบี (Vitamin B) ช่วยควบคุมการหลั่งของน้ำมันธรรมชาติษะและกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม
- PRP กระตุ้นการเติบโตของเซลล์และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังรูขุมขน ทำให้เส้นผมแข็งแรงขึ้นด้วยพลาสม่าจากเลือดผู้เข้ารับการรักษาเอง
รวมถึงการทำทรีตเมนต์บำรุง การปลูกผมด้วยเซลล์ผม หรือ ReCell® เป็นต้น

คำแนะนำในการใช้ยาและวิตามิน
การใช้ยา สำหรับการรักษาผมร่วงควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง หรืออาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง
นอกจากนี้ยาบางชนิด ต้องถูกจ่ายยาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเท่านั้นที่แพทย์ หรือเภสัชกรสามารถทำได้ ไม่แนะนำให้ซื้อยาเองจากร้านที่ไม่มีมาตรฐาน หรือสั่งซื้อยาผ่านเว็บไซต์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์
สำหรับ วิตามิน หรือ อาหารเสริม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง และมีการศึกษาผลลัพธ์จากงานวิจัย โดยการทานวิตามินควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรทานวิตามินเกินขนาดที่แนะนำ ซึ่งการทานวิตามินเกินขนาดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ดีต่อร่างกาย
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ยา วิตามิน หรืออาหารเสริมในการรักษาผมร่วง คำแนะนำที่สำคัญที่สุด คือ การไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของผมร่วงก่อน เพราะหากเรากินยาผิดหรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย อาจทำให้ผลลัพธ์ไม่ดีหรือมีผลข้างเคียงได้ บางครั้งปัญหาผมร่วงอาจเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ความเครียด การขาดสารอาหาร หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับเส้นผม หากไม่พบสาเหตุที่แท้จริง การใช้ยาโดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์อาจไม่ช่วยอะไรเลย
สรุป
ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผมหรือว่าการทานยาต่างมีบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเข้าใจที่ว่าปลูกผมอย่างเดียวไม่ต้องทานยาก็ไม่ถูก เพราะการทานยาควบคู่ด้วย ก็จะช่วยลดผมร่วงจากต้นเหตุ ทำให้ผมที่มีอยู่ไม่หลุดร่วงเพิ่ม
หรือทานยาแล้วไม่ต้องปลูกผมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะยาช่วยลดผมร่วงได้ แต่ทำให้ผมบริเวณที่เซลล์ตาย รูขุมขนปิดไปแล้วงอกขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้นการรักษาทั้ง 2 รูปแบบยังคงมีความจำเป็นสำหรับการรักษาปัญหาศีรษะล้าน-เถิก อยู่ดี
เหมาะสำหรับบริเวณที่ผมบางลงโดยยังมีเส้นผมเหลืออยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งมักจะเป็นบริเวณด้านบนของศีรษะ เป็นการสกัดเซลล์รากผมของเรามาฉีดยังบริเวณที่มีปัญหาเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการงอกผมใหม่ รวมถึงทำให้ผมดูหนาขึ้นครับ มี 2 เทคนิคคือ ReCell Hair Micro Transplant และ ReCell Plus 3X