ปัญหาผมร่วงกับยาปลูกผม

ผมร่วงแล้วจะทำยังไงดี เป็นคำถามที่พบได้เป็นจำนวนมาก ผมเชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ก็น่าจะเคยสงสัยเหมือนกัน จากบทความก่อน ๆ จะทำให้เห็นว่าปัญหาหลักของการเกิดผมร่วงคือปัญหาทางพันธุกรรม และการกินยาและใช้เซรั่มก็มักจะมาเป็นตัวเลือกแรก ๆ เสมอ แต่ว่ายาก็ยังมีขีดจำกัดในการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถรักษาอาการล้าน-เถิกอย่างรุนแรงได้ จึงต้องใช้การปลูกผมเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

ยาที่ใช้รักษาอาการผมร่วง

  1. ยาฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) เป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์โดยการลดการเกิดฮอร์โมน DHT โดยไปลดการเกิด ณ ปลายทางที่รากผมเป็นหลัก การกินยานี้ไม่ได้เป็นการกดฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเลย สังเกตได้ว่าหลังจากใช้ยาชนิดนี้ เส้นผมจะดูดกดำ และดูหนาขึ้น เพราะเซลล์รากผมไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT
  2. ยาไมนอกซิดิล(Minoxidil)  เดิมเป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตสูงมาก่อน แต่ภายหลังพบว่ามีผลข้างเคียงจากยานี้ที่ทำให้ผมงอกขึ้นบริเวณศีรษะหลังจากทานยาด้วยกลไกการทำงานที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งคาดว่าอาจมาการขยายหลอดเลือดทำให้มีเลือดไปเลี้ยงเส้นผมมากขึ้น เพื่อป้องการเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ จะต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง

 จะทำให้เห็นได้ว่ามีเพียงยา Finasteride ที่เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แต่โดยมากกว่าจะตระหนักถึงปัญหาศีรษะล้าน-เถิก ก็เข้าสู่ระยะที่ยากจะรักษาโดยยาแล้ว จึงต้องทำการปลูกผมถาวรแบบย้ายราก หรือการปลูกผมแบบ RECELL HAIR MICRO TRANSPLANT™ เข้ามาใช้ในการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการผมร่วงในแต่ละบุคคล

ที่กล่าวว่าการปลูกผมเป็นการรักษาที่ปลายเหตุก็เพราะว่า เราไม่สามารถทำให้รูขุมขนที่ปิดไปแล้ว หรือเซลล์ที่ตายไปแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง จึงต้องนำรากผมจากบริเวณด้านหลังศีรษะที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT มาปลูกในบริเวณที่ต้องการ

สรุปสิ่งที่ควรรู้

  1. ยาทุกตัวล้วนมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจาก การขาดความรู้ความเข้าใจในตัวยานั้น ๆ
  2. ยาฟิแนสเทอไรด์ และยาไมนอกซิดิล จะทำให้เส้นผมที่เหลืออยู่ไม่หลุดร่วงไปมากกว่าเดิม แต่ไม่สามารถรักษาทำให้มีเส้นผมเกิดใหม่บนผิวที่ไม่มีเส้นผมเหลือหรือรูขุมขนปิดตัวไปแล้ว
  3. เส้นผมบริเวณด้านหลังศีรษะ เป็นเส้นผมที่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT น้อย จึงเป็นส่วนที่นำมาปลูกในบริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผม คิ้ว หรือหนวดเครา เป็นต้น
  4. หลังจากปลูกผมแบบถาวรย้ายรากแล้ว สามารถรับประทานยา เพื่อไม่ให้เส้นผมในบริเวณอื่นที่ยังไม่ได้ปลูกหลุดร่วงไปมากกว่าเดิม 

 ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นการปลูกผมหรือว่าการทานยาต่างมีบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเข้าใจที่ว่าปลูกผมดีกว่าทานยา หรือทานยาดีกว่าปลูกผมนั้นไม่เป็นความจริง การรักษาทั้ง 2 รูปแบบยังคงมีความจำเป็นสำหรับการรักษาปัญหาศีรษะล้าน-เถิก

Share the Post:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ครับ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

Save