เป็นเรื่องปกติมาก ๆ สำหรับบางคนที่ไม่ต้องการทานยา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ เรามาดูกันว่าเราสามารถจัดการกับเจ้าปัญหาผมบาง-ผมร่วงกันอย่างไรดี หรือต่อให้เราทำอะไรไม่ทันแล้ว จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
เราผมร่วงได้อย่างไร?
ปัญหาผมร่วงมีมากมายหลายสาเหตุครับ แต่จะขอพูดถึงสาเหตุหลัก ๆ 3 ข้อกันครับ
การรับประทานอาหาร
เส้นผมก็ต้องการสารอาหารเช่นกัน ผมร่วงอาจมีสาเหตุมาจากน้ำหนักลดฉับพลัน ระดับธาตุเหล็กต่ำ หรือโภชนาการที่ขาดความสมดุล ข่าวดีก็คืออาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่จำเป็นต้องกังวลเท่าไรนัก
ความเครียด
ความเครียดทำให้เส้นผมบางลงและเกิดรังแคได้เช่นกัน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยอย่างที่คิด หากขณะหวีหรือแปรงผมพบว่ามีผมร่วงเป็นกระจุกหรือในปริมาณมาก อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการผมร่วงทั่วศีรษะ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากความเครียดทางร่างกายหรือจิตใจที่สูงมาก
พันธุกรรม
ศีรษะล้านทางพันธุกรรมหรือศีรษะล้านรูปแบบผู้ชาย เป็นสาเหตุของอาการผมร่วงในผู้ชายที่พบได้มากที่สุด สาเหตุหลัก ๆก็เกิดขึ้นจากฮอร์โมน DHT นั่นเองสังเกตได้ง่าย ๆ โดยผมบริเวณด้านหลังของเราจะไม่ร่วงเยอะเท่ากับที่อื่น เพราะไม่มีตัวรับฮอร์โมน DHT นั่นเองครับ
DHT คือฮอร์โมนตัวร้ายจริงหรือ?
Dihydrotestosterone (DHT) เป็นฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาลักษณะทางเพศของ “ผู้ชาย” ไม่ว่าจะเป็นการมีขนบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย การมีเสียงที่ทุ้มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และที่สำคัญทำให้เกิดอาการศีรษะล้าน-เถิกขึ้นได้ครับ
ร่างกายของเราไม่ได้ผลิต DHT ขึ้นมาตรง ๆ แต่ว่าร่างกายของเราผลิตฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อว่าเทสโทสเตอโรน (Testosterone) จากอัณฑะในเพศชาย รังไข่ในเพศหญิง รวมไปถึงต่อมอื่น ๆ ในร่างกาย เมื่อฮอร์โมน Testosterone ไปเจอกับเอนไซม์ 5α-Reductase ก็จะทำให้เกิดเจ้าฮอร์โมน DHT ขึ้นมาที่อวัยวะปลายทางนั่นเองครับ
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วเจ้าฮอร์โมน DHT ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย แต่มีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นเราไม่สามารถเลือกที่จะกำจัดฮอร์โมน DHT ได้ ดังนั้นการป้องกันผลกระทบจึงเป็นตัวเลือกถัดมาครับ
แน่นอนว่าการทานยาเป็นการป้องกันที่ตรงจุดที่สุด เพราะ Finasteride เข้าไปหยุดการสร้างฮอร์โมน DHT โดยการวิ่งเข้าไปจับกับ 5α-Reductase แต่หากไม่ต้องการทานยาก็ยังมีตัวเลือกที่หน้าสนใจอยู่อีก 2 วิธีครับ
- ฉีดบล็อคฮอร์โมน– นวัตกรรมใหม่ล่าสุด เป็นการบล็อคฮอร์โมนอย่างตรงจุด เนื่องจากเป็นการฉีดเข้าที่หนังศีรษะโดยตรง ดังนั้นจึงออกฤทธิ์บริเวณหนังศีรษะเท่านั้น สำหรับหลักการคือ ปกป้องรากผมจากอิทธิพลของฮอร์โมน DHT ไม่ให้รากผมฝ่อตัวลง
- การทานวิตามิน – เป็นตัวเลือกยอดฮิตสำหรับเพศหญิงมาอย่างยาวนาน เนื่องจากยา Finasteride ไม่สามารถใช้ในเพศหญิงได้ เจ้าวิตามินที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ Finasteride และ Minoxidil จึงเป็นทางเลือกยอดฮิตในการป้องการผลกระทบจากฮอร์โมน DHT นั่นเองครับ
แน่นอนครับว่าการป้องกันฮอร์โมน DHT เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ว่าไม่สามารถเรียกผมของเราที่หายไปแล้วให้กลับมาได้ครับ เนื่องจากหากเซลล์รากผมตายไปแล้ว ก็จำเป็นต้องทำการปลูกผมถาวรย้ายรากเพื่อแก้ปัญหาเท่านั้นครับ สำหรับใครที่ต้องการปลูกผมสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่เพจหรือไลน์ของหมอดนัยได้เลยครับ