หลายท่านที่มีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน – เถิก คงเริ่มมีการคิดถึงวิธีการและอาจจะตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการที่จะปลูกผมถาวร เพื่อแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น รวมถึงทำให้มีกรอบหน้าชัดเจนขึ้น ดูอ่อนเยาว์ลง แต่สิ่งเดียวที่ยังเป็นอุปสรรคคือ “กลัวเจ็บ” นั้นเองครับ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นหัตถการทางการแพทย์แล้ว เราอาจจะนึกถึงความเจ็บขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ในบทความนี้เราจะมาคุยกันถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการปลูกผมว่าตอนไหนที่ต้องเจ็บแน่ ๆ หรือตอนไหนที่มักจะคิดว่าเจ็บ แต่กลับไม่เจ็บ เพื่อเป็นข้อมูลให้ทุกคนทราบกันครับ
ความเจ็บเกิดในการปลูกผม
ถ้าหากพูดถึงความเจ็บในการปลูกผมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบด้วยกันครับ นั่นคือความเจ็บในขณะทำ กับอาการเจ็บหลังทำการปลูกเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะหลังปลูกเสร็จทันที หรือเมื่อผ่านระยะหนึ่งแล้วครับ
ความเจ็บในขณะทำการปลูกผมนั้นมาจากการฉีดยาชาครับ
ฉีดยาชาครั้งแรก
ในการปลูกผมถาวรเราจะต้องมีการฉีดยาชา 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเราจะฉีดยาชาเพื่อให้หนังศีรษะด้านหลังชา ไม่มีความรู้สึก เพื่อจะได้สามารถเจาะหรือผ่าตัดเพื่อนำกราฟต์ผมที่แข็งแรงออกมาครับ โดยทำการฉีดยาชาเข้าไปรอบบริเวณที่จะทำการเจาะกราฟต์ผมออกมา ลักษณะแบบตีกรอบพื้นที่นั้น ทำให้หนังศีรษะที่มีการฉีดยาชาและพื้นที่ด้านกรอบที่ได้ฉีดยาชาไว้มีการชา ไม่มีความรู้สึกครับ จำนวนจุดที่ต้องฉีดก็ขึ้นกับพื้นที่ที่สามาถนำกราฟต์ผมออกมาใช้ปลูกผมได้มีความกว้างใหญ่แค่ไหน ถ้าพื้นที่กว้างก็ต้องเจ็บจากการฉีดยาชาหลายจุดตามไปด้วยครับ
ฉีดยาชาครั้งที่สอง
การฉีดยาชาครั้งที่สองเป็นการฉีดเพื่อให้หนังศีรษะบริเวณที่จะทำการปลูกผมชา ไม่มีความรู้สึก ซึ่งการฉีดยาชาบริเวณด้านหน้าก็จะใช้วิธีการฉีดแบบเดียวกับการฉีดในครั้งแรกครับ คือ การฉีดยาชาตีกรอบพื้นที่ที่จะทำการปลูกผมนั่นเองครับ
ความเจ็บหลังการปลูกส่วนหนึ่งมีส่วนมาจากเทคนิคที่ใช้
เทคนิค FUT เป็นเทคนิคที่มีการผ่าตัดหนังศีรษะของคนไข้ออกมาโดยจะมีการสร้างบาดแผลเป็นลักษณะแผลกรีดที่เป็นรอยยาว ซึ่งในเทคนิคนี้นั้นทำให้เมื่อมีการผ่าตัดนำชิ้นเนื้อออกมาแล้ว จะมีการพักฟื้นก็ใช้เวลานาน และเมื่อมีขนาดแผลที่มีความกว้างจึงผลให้อาการเจ็บนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลังการทำหัตถการครับ ทั้งในบริเวณที่นำชิ้นเนื้อออกมา รวมถึงบริเวณที่เกิดการเจาะเพื่อปลูกผม เทคนิคนี้ยังสร้างแผลเป็นให้กับคนไข้อีกด้วยครับ
แล้วเทคนิคที่เจ็บน้อยควรเป็นอย่างไร
เทคนิคที่เจ็บน้อยต้องแตกต่างจากเทคนิค FUT เทคนิคของทางเรานั้นคือเทคนิค DHI หรือ Long Hair DHI สิ่งที่ทำให้คนไข้เจ็บน้อยนั้นเพราะ ด้วยการปลูกผมแบบ DHI หรือ Long Hair DHI สองเทคนิคนี้นั้น จะเจ็บแค่ตอนฉีดยาชาครับ เพราะเนื่องจากการทำหัตถการด้วยเทคนิคนี้จะเป็นการเจาะนำกราฟต์ผมออกมา โดยที่ไม่ต้องกรีดหนังศีรษะครับ และด้วยตัวเข็มเจาะที่มีขนาดเล็ก 0.6 – 0.8 mm รวมถึงในขั้นตอนการปลูกผมที่นำเอาเครื่องมือ DHI Implanter มาใช้ในขั้นตอนปักและปลูกทำให้ แผลที่ขึ้นตรงบริเวณที่ปลูกมีขนาดเล็ก และเส้นผมที่ได้แน่นละเอียดเป็นธรรมชาติหลังการปลูกผม เนื่องจาก DHI ไม่ต้องกรีดเนื้อใช้เพียงการเจาะ และแผลที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้แผลปิดสนิทง่ายและหายเร็ว คนไข้จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความเจ็บปวดหลังการปลูกผมด้วยเทคนิค DHI แน่นอนครับ
โดยสรุปแล้วในการปลูกผมอย่างที่ได้พูดไปข้างต้นครับว่า ความเจ็บที่เกิดขึ้นในการปลูกผมนั้นอยู่ที่ช่วงการฉีดยาชา และเทคนิคที่ใช้ครับ ทั้งนี้ระดับความเจ็บนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลที่เป็นสิ่งที่จะเอามาเปรียบเทียบกันระหว่างบุคคลได้ยากครับ แต่หากสำหรับใครที่ยังลังเลใจว่าตนเองควรทำอย่างไรหรือต้อง ปลูกผม แล้วหรือยัง หรือด้วยเทคนิคไหน หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาของเส้นผม สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อปรึกษากับหมอได้นะครับ