หัวล้าน เกิดจากอะไร? เจาะลึกสาเหตุ และวิธีรักษา

หัวล้าน ผมบาง ผมร่วง เกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงวิธีการในการรักษาก็แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งหากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังมีอาการที่ว่ามานี้ ลองมาดูกันก่อนว่า หัวล้านเกิดจากอะไรได้บ้าง และแนวทางในการรักษา ป้องกัน เป็นอย่างไร

หัวล้านเกิดจากอะไร?

  1. พันธุกรรม – สาเหตุหลักของการเกิดผมบางหรือหัวล้าน มาจากยีนที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ ทำให้รูขุมขนไวต่อฮอร์โมนเพศชาย โดยเฉพาะ DHT (Dihydrotestosterone)
  2. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน – ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น ส่งผลให้รูขุมขนหดตัวและผมบางลง
  3. ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต – ความเครียดเรื้อรัง วิตกกังวล ซึมเศร้า สามารถกระตุ้นให้เกิดผมร่วงแบบชั่วคราว (Telogen Effluvium)
  4. โรคภูมิแพ้ตัวเอง – เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันโจมตีรูขุมขน
  5. การขาดสารอาหาร – การขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี โปรตีน และสังกะสี ส่งผลต่อการเจริญของเส้นผม
  6. การใช้ยาบางชนิด – ยาเคมีบำบัด ยารักษาความดัน ยาลดไขมัน และยาอื่นๆ อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วง

ปัจจัยทางกายภาพ – การดึงผมเป็นประจำ เช่น การถักเปียแน่นเกินไป การใช้ความร้อนสูง หรือสารเคมีทำผมบ่อยครั้ง

วิธีการแบ่งระดับ อาการหัวล้าน

male pattern hair loss

การแบ่งระดับของปัญหาผมบาง-ศีรษะล้านนั้นมีอยู่หลายแบบครับ ในวันนี้เราจะใช้ Basic and Specific (BASP) Classification เป็นตัวอ้างอิงนะครับ โดยเราจะทำการคู่ลักษณะปัญหาแบบที่พบได้บ่อยกับแบบที่พบได้น้อยกว่าครับ

1. แบบที่พบได้ทั่วไป (Basic Type)

แบ่งปัญหาออกเป็น 3 แบบย่อยก็คือ

  1. M หรือ M-Shape คือ จะมีอาการเว้าเข้าไปทั้ง 2 ง่าม โดยแบ่งระดับความรุนแรงอยู่ที่ 0-3
  2. C หรือ C-Shape คือ จะมีการถอยร่นของแนวผมด้านหน้าขึ้นไปพร้อม ๆ กัน แนวผมที่เหลืออยู่มีลักษณะแบบตัวอักษร C โดยแบ่งระดับความรุนแรงอยู่ที่ 0-3
  3. U หรือ U-Shape คือ ลักษณศีรษะแบบขุนช้างที่มีปัญหาผมบาง-ล้านจนทั่วหัวแล้ว เหลือเพียงแต่ผมทางด้านหลังศีรษะ แนวผมที่เหลืออยู่มีลักษณะคล้ายตัวอักษร U โดยแบ่งความรุนแรงแรงอยู่ที่ 1-3 ถือเป็นอาการล้านที่รุนแรงที่สุด

2. แบบที่พบได้น้อยกว่า (Specific Type)

  1. V หรือในส่วนของ Vertex ก็จะเป็นอาการบางด้านบนศีรษะ แบ่งความรุนแรงออกมาเป็น 1-3 ตามขนาดพื้นที่ปัญหา
  2. F หรือ Female Hair Loss Pattern เป็นรูปแบบอาการหัวล้านในเพศหญิงที่สามารถเกิดได้ในเพศชายได้เช่นกันครับ ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด จะมีอากาาผมบางกระจายทั่วศีรษะ ในขณะที่แนวผมด้านหน้าจะยังคงอยู่

เวลาที่แพทย์วินิจฉัยก็จะเป็นการดูว่าปัญหาพื้นฐานเป็นแบบไหนและมีแบบที่พบได้น้อยกว่าร่วมด้วยหรือไม่  เช่น M2V1 ก็จะเป็นอาการที่มีลักษณะ M shape เว้าเข้าไปประมาณหนึ่งและมีอาการบางในบริเวณตรงกลางร่วมด้วย หากอยากรักษา ก็สามารถรักษาโดยการปลูกผมถาวรย้ายรากในบริเวณ M-Shape  และรักษาด้วย RECELL ในบริเวณตรงกลางหัวครับ หรือสำหรับใครที่มีต้นทุนผมด้านหลังจำนวนมากก็สามารถปลูกผมด้วยเทคนิคย้ายรากทั้ง 2 บริเวณเลยก็ได้ครับ

แล้วอาการแบบไหนที่ไม่สามารถปลูกผมได้

สำหรับการปลูกผมแบบย้ายรากจริง ๆ แล้วเราสามารถปลูกผมได้ไม่ว่าจะเป็นอาการในระดัยไหน แต่หากคำนึงถึงผลลัพธ์ หมอแนะนำว่ากลุ่มที่มีปัญหาแบบ U หรือ U-Shape ทั้ง 3 ระยะ ไม่ควรปลูกผมแล้วครับเนื่องจากเรามีพื้นที่ที่มีปัญหามากเกินไป ดังนั้นปลูกไปก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่สวย หรือไม่แน่นนั่นเอง

สัญญาณเตือนว่ากำลังจะหัวล้าน

  • ผมร่วงมากกว่าปกติ – ผมคนเราร่วงวันละ 50-100 เส้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากสังเกตพบว่ามีผมร่วงมากกว่านี้ อาจสื่อถึงปัญหา
  • เส้นผมบางลงอย่างเห็นได้ชัด – สังเกตว่าผมเริ่มบางจนมองเห็นหนังศีรษะได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะหรือขมับ
  • เส้นผมที่งอกใหม่เล็กและบางลง – เส้นผมที่งอกใหม่มีขนาดเล็กลงและบางกว่าเดิม
  • ขอบผมถอยร่น – สังเกตได้จากขอบผมด้านหน้าที่ถอยร่นเข้าไป หรือรูปตัว M เริ่มชัดเจนขึ้น
  • พื้นที่หนังศีรษะโล่งเป็นหย่อมๆ – มักพบในโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)
  • อาการคันหรือระคายเคืองหนังศีรษะ – บางครั้งอาจบ่งชี้ถึงปัญหาของหนังศีรษะที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม

วิธีการรักษาเมื่อหัวล้าน 

การรักษาผมร่วงมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เช่น 

  1. ยาทา – มินอกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาทาหนังศีรษะที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่หนังศีรษะและกระตุ้นการเจริญของเส้นผม
  2. ยารับประทาน – ฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เปลี่ยนเทสโทสเตอโรนเป็น DHT ช่วยชะลอการร่วงของผม (ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น)
  3. การฉีด PRP – การนำเลือด มาปั่นแยกเพื่อเอาพลาสม่าที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นไปฉีดที่หนังศีรษะ กระตุ้นการงอกของเส้นผม
  4. เลเซอร์บำบัด – การใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำเพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผม ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและกระตุ้นเซลล์
  5. การปลูกผม – เป็นการผ่าตัดย้ายเซลล์รากผมจากบริเวณที่มีผมหนาแน่น (มักเป็นด้านหลังและด้านข้างของศีรษะ) ไปยังบริเวณที่ผมบางหรือล้าน
  6. ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร – วิตามินและแร่ธาตุเฉพาะ เช่น ไบโอติน วิตามินดี ธาตุเหล็ก และสังกะสี อาจช่วยในรายที่ผมร่วงเกิดจากการขาดสารอาหาร
  7. การใช้วิก – เป็นทางเลือกชั่วคราวหรือถาวรสำหรับผู้ที่มีหัวล้าน

ซึ่งในการเลือกใช้แต่ละวิธี ขึ้นอยู่กับปัญหาเส้นผมที่เจอ หรือดุลยพินิจของแพทย์ด้วย เช่น หากหนังศีรษะหรือรากผมมีความอ่อนแอ ก็อาจใช้วิธีการกระตุ้นหรือบำรุง แต่หากบริเวณที่หัวล้านนั้น เซลล์รากผมไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีกแล้ว ก็อาจใช้การปลูกผมในการรักษา เป็นต้น

สามารถป้องกันไม่ให้หัวล้านได้ไหม

แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันหัวล้านที่มีสาเหตุจากพันธุกรรมได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถชะลอกระบวนการและลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีต่อไปนี้:

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ – อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ช่วยให้ผมแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผม – ลดการใช้ความร้อน สารเคมี หรือการดึงรั้งผม
  • จัดการความเครียด – การออกกำลังกาย, การทำสมาธิ หรือโยคะ ช่วยลดความเครียดที่อาจส่งผลต่อการร่วงของเส้นผม
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ – เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนและตรวจหาโรคที่อาจส่งผลต่อการงอกของเส้นผม
  • เริ่มการรักษาแต่เนิ่นๆ – การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการผมบางจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการรอจนหัวล้านมาก

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องหัวล้าน

“หัวล้านมาจากแม่” 

 ความจริงแล้ว ยีนที่เกี่ยวข้องกับหัวล้านสามารถถ่ายทอดได้จากทั้งพ่อและแม่

“การสวมหมวกทำให้หัวล้าน” 

ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันความเชื่อนี้ การสวมหมวกไม่ส่งผลต่อการเจริญของเส้นผม แต่ก็อาจส่งผลทางอ้อมในแง่ของการเกิดความอับชื้น แบคทีเรียหรือสิ่งสกปรกจากหมวก

“สระผมบ่อยทำให้ผมร่วง” 

การสระผมไม่ทำให้เกิดผมร่วง แต่เป็นเพียงการช่วยขจัดเส้นผมที่หลุดร่วงตามธรรมชาติอยู่แล้ว

“การนวดหนังศีรษะหรือกระตุ้นด้วยหัวหอมป้องกันหัวล้าน” 

แม้การนวดจะช่วยการไหลเวียนเลือด แต่ไม่มีหลักฐานว่าสามารถป้องกันหัวล้านได้จริง ส่วนหัวหอมไม่มีฤทธิ์ช่วยป้องกันผมร่วงที่พิสูจน์ทางการแพทย์

“ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงจะหัวล้านมากกว่า” 

 ไม่จริงเสมอไป การล้านขึ้นอยู่กับความไวของเซลล์รากผมต่อ DHT มากกว่าระดับฮอร์โมนโดยรวม

“หัวล้านเกิดเฉพาะกับผู้ชายสูงอายุ” 

ผู้หญิงก็สามารถมีอาการผมบางได้เช่นกัน และในผู้ชายบางราย อาการอาจเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี

สรุป

การหัวล้านอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความมั่นใจ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีทางเลือกในการรักษามากมาย หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของผมร่วงหรือผมบาง ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนังและเส้นผมเพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

Share the Post:

นายแพทย์ดนัย ธรรมภิบาล

Education

  • แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Doctor of Medicine, Prince of Songkhla University)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (Master of Science in Anti – Aging and Regenerative Medicine, School of Anti-Aging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University)

Certification

  • Certified American Board of Hair Restoration Surgery (ABHRS)
  • Certified International Board of Hair Restoration Surgery (IBHRS)
  • Certified American Board in Anti-Aging Medicine (A4M)
  • Certified in Clinical Nutrition Wellness (CNW), American Naturopathic
  • Certification Board (ANCB)
  • Certified in Chelation Therapy, Chelation Medical Association Thai (CMAT)
  • Certified in Anti-Aging Exercise and Wellness Medicine, Mae Fah Luang University)
  • Certified in Hair Transplant Program, Thai Global Health Center Bangkok
  • Certified in the Asian Association of Hair Restoration Surgeons (AAHRS)
  • Certified in The European Organization of Hair Restoration Professionals (FUE Europe)
  • Member of The World FUE Institute
  • Associate member in International Society of Hair restoration Surgery (ISHRS)
  • Key opinion leader (KOL) in Asia for NeoGraft® by Venus Concept USA
  • Lecturer in PAVICON MEDINESS ACADEMY (Hair Transplant Training Academy)
  • Speaker in “Lion-Hair Implanter One-Step Hair Restoration System Workshop” by Hans Biomed (2020)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ครับ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

Save